สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ร่วมกับเครือข่ายอสังหาริมทรัพย์ไทย เอกชนจับมือเข้มแข็ง รวมพลังร่วมสู้ภัยโควิด-19 ตั้งศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะ
สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ร่วมกับเครือข่ายอสังหาริมทรัพย์ไทย เอกชนจับมือเข้มแข็ง รวมพลังร่วมสู้ภัยโควิด-19 ตั้งศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะ ร่วมสกัดวงจรการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19
สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ผนึกกำลังกับเครือข่ายอสังหาริมทรัพย์ไทย และสำนักงานเขตราษฏร์บูรณะ กรุงเทพมหานครจัดตั้ง “ศูนย์พักคอยเขตราษฏร์บูรณะ (Community Isolation Center)” โดยได้รับความเอื้อเฟื้อด้านสถานที่จาก บมจ. ศรีไทยชุป เปอร์แวร์ ร่วมสนับสนุนโดย โรงพยาบาลประชาพัฒน์, มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์, ย่านนวัตกรรม การแพทย์ โยธี(YMID), มหาวิทยาลัยเทคโลโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, บมจ.เมืองไทยประกันภัย และมูลนิธิมาดามแป้ง ในการเพิ่มเตียง ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ให้เข้าถึงการรักษากว่า 200 เตียง เพื่อจะลดวงจรการระบาดลง พันธกิจนี้ภาคเอกชนจะยังคงเดินหน้า เพื่อขยายเตียงรักษาผู้ป่วยโควิด ให้มีความหวัง และพลังใจ
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่าจากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ยังคงต้องอยู่กับ สถานการณ์นี้อีกนาน เนื่องจากสายพันธุ์โควิด-19 ยังมีการพัฒนาตัวเองอยู่ ขณะที่การฉีดวัคซีนยังไม่สามารถฉีดให้ครอบคลุม ประชากรได้ตามที่รัฐกำหนด วัคซีนได้มาบ้างไม่ได้บ้าง ตัวเลขการล็อกดาวน์ยังไม่ดีขึ้น และอาจจะล็อกไม่ได้แบบประเทศจีน ที่ สามารถสั่งหยุดแล้ว หยุดได้เพราะฉะนั้นคนไทยยังต้องอยู่กับสถานการณ์นี้อีกนาน ประกอบกับอัตราการฉีดวัคซีนยังไม่ได้ตาม เป้าหมาย ต้องคอยติดตามจำนวนวัคซีนที่จะทะลักเข้ามาในอีก 1-2 เดือนนี้ และสามารถฉีดได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น ทุกคนจึง ต้องปรับตัวที่จะอยู่กับโควิด-19 ให้ได้ ซึ่งหากรัฐบาลจะใช้มาตรการล็อกดาวน์ยาวจนกระทั่งสถานการณ์ดีขึ้นแล้วค่อยเปิดคงจะ ไม่ได้
จากสถานการณ์ดังกล่าว สมาคมฯ ได้มีการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ และหน่วยงานราชการอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก่อนหน้า นี้มีการติดเชื้อในชุมชนแพร่กระจายมากขึ้น ทางสมาคมฯได้ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือในชุมชนต่าง ๆ ต่อมาขยายวงอออกไปยัง แคมป์แรงงานก่อสร้าง สมาคมฯ จึงมีแนวคิดจะตั้งศูนย์พักคอย โดยประสานหาสถานที่ต่าง ๆ ทั้งที่ดินของสำนักงานทรัพย์สิน การ รถไฟ ท่าเรือ ที่ดินราชพัสดุ หลังจากนั้น มีการประสานจากโรงพยาบาลประชาพัฒน์ว่ายังมีกำลังที่พอจะช่วยดูแลผู้ป่วยในศูนย์ พักคอยได้หรือไม่ เนื่องจากทาง รพ. ก็มีจำนวนเตียงไม่มากพอขณะที่ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากมานอนรอเตียงหน้าโรงพยาบาล ทาง รพ. จึงมีความต้องการจัดการแยกผู้ป่วยสีเขียว เหลือง ออกจากกัน โดยการนำผู้ป่วยสีเขียวไปอยู่ด้านนอก แล้วส่งเฉพาะผู้ป่วยสี
แดงเข้าสู่ รพ. ซึ่งจะทำให้บริหารจัดการได้ดีขึ้น ประกอบกับทางสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะได้รับนโยบายจากผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ให้แต่ละเขตจัดตั้งศูนย์พักคอย จึงทำให้เกิดความร่วมมือนี้ขึ้น สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยมีผม นายอดิเรก แสงใสแก้ว อุปนายกและเลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ดร.วรพจน์ กันตพิพัฒน์ อุปนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงได้ทุ่มกำลังในการเนรมิตโกดังเก่าของ บมจ. ศรีไทย ซุปเปอร์แวร์ บนถนนราษฎร์บูรณะขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้มาก
ที่สุด ในส่วนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมดำเนินการปรับปรุงโกดังเก่า โดยประสานหาพันธมิตรมีความเชี่ยวชาญทางด้านการก่อสร้าง เข้ามาดำเนินการปรับปรุง สร้างห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย สร้างห้องความดันลบ ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ประปา
โดยได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ รพ. ประชาพัฒน์, บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต , มูลนิธิมาดามแป้ง
หากสถานการณ์ตัวเลขผู้ป่วยยังอยู่ในหลักหมื่น สักระยะหนึ่งผู้ป่วยจะกลายเป็นสีเขียว เหลือง และแดงเพิ่มมากขึ้น จาก การแพร่เชื้อสู่ครอบครัวและชุมชน จึงทำให้ศูนย์นี้เตรียมความพร้อมสู่การยกระดับเป็น รพ. สนามต่อไปในอนาคต โดยปัจจุบัน ศูนย์พักคอยนี้ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยสีเขียว และในเฟสสองอาจจะมีการเพิ่มเตียงจากจำนวน 200 เตียง เป็น 400 เตียง
“เราคาดหวังว่าจะสามารถช่วยคนได้หลายพันคนไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่ม การทำศูนย์พักคอยไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเตรียมแบบก่อสร้างที่ถูกต้องตามหลักสาธารณสุข การบำบัดน้ำเสีย ถือเป็นความร่วมมือที่ดีมากจากหลายภาค ส่วนจนประสบความสำเร็จ” นายพรนริศ กล่าว
ในโอกาสนี้ อยากจะเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมบริจาค เพื่อช่วยเหลือผู้คนในช่วงที่ลำบาก ทุกคนต้อง คิดถึงผู้อื่น เอื้อเฟื้อต่อผู้ที่กำลังทุกข์ร้อน ทั้งนี้ภาระกิจยังต้องดำเนินต่อเนื่องไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง สมาคมอสังหาฯ ใคร่ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมส่งต่อพลัง สนับสนุนการบริจาค เตียงละ 20,000 บาท หรือ ตามกำลังศรัทธา เพื่อการจัดซื้อ อุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ ตลอดจนสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด แล้วเราจะผ่าน พ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน ชื่อบัญชี "สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย" ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เลขบัญชี 889-2-19372-5 ส่งสลิปเพื่อออกหนังสือขอบคุณได้ที่ Line@trea #ศูนย์พักคอยราษฎร์บูรณะ #@trea
ด้าน นายแพทย์ณัฐวุฒิ แหวนหล่อ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลประชาพัฒน์ เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ใน ปัจจุบัน ภาพรวมของประเทศและในกรุงเทพมหานคร จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีปัญหาในการ เข้าถึงกระบวนการรักษา ทั้งเรื่องของจำนวนเตียงในโรงพยาบาลที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยได้ กลุ่มที่รอเตียงเข้าถึงกระบวนการ รักษาและยารักษาได้ค่อนข้างยาก ทางโรงพยาบาลประชาพัฒน์มีจำนวนผู้ป่วยที่รอเตียงอยู่มากพอสมควร จึงเป็นที่มาของ โครงการจัดตั้ง “ศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะ”
ทั้งนี้จากการหารือกับทางผู้อำนวยการเขตราษฎร์บูรณะ ซึ่งทางเขตก็มีนโยบายไม่อยากให้มีผู้ป่วยอยู่ในชุมชนและมี ผู้ป่วยรอเตียงเป็นจำนวนมาก จึงร่วมกันกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และภาคเอกชนจัดตั้งศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงกระบวนการรักษาได้ และในระหว่างที่รอเตียงควรแยกกักตัวออกมาจากครอบครับและชุมชน เพื่อป้องกันการ แพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยสู่ครอบครัวและชุมชน
สำหรับนโยบายของภาครัฐ กระบวนการ Home Isolation นั้นถือว่าดี แต่ในทางปฏิบัติค่อนข้างทำได้ยาก ด้วยเหตุผล ที่ว่าลักษณะที่อยู่อาศัยในชุมชน ผู้ป่วยที่ไม่เอื้อต่อการแยกกักตัว ดังนั้น การเอาผู้ป่วยกลุ่มนี้ออกมากักตัวรวมกันในที่ ๆ จัดไว้ พร้อมทั้งได้รับการดูแลทางการแพทย์จะดีกว่าในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน ซึ่งทาง รพ. มีความพร้อมในการรองรับ ผู้ป่วยโควิดอยู่แล้ว แต่จะมีปัญหาในแง่ของผู้ป่วยเคสสีเขียวที่ในความเป็นจริงสามารถอยู่ที่บ้านได้ หรือมากักตัวในสถานที่ชุมชน จัดไว้ แต่เนื่องจากผู้ป่วยในระบบมีจำนวนมาก ทาง รพ. จึงอยากนำผู้ป่วยเคสสีเขียวออกมาดูแลข้างนอก ซึ่งการแยกผู้ป่วยเคสสี
เขียวออกมายังศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะ เพื่อให้รพ. มีขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วยเคสสีเหลือง และส้มได้มากขึ้น
ศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะ ตั้งอยู่ห่างจาก รพ. ประชาพัฒน์ประมาณ 3 กิโลเมตร จึงง่ายต่อการรับส่งต่อผู้ป่วยที่อาการหนัก มายัง รพ. ได้ โดยศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะมีจำนวน 200 เตียง ซึ่งในอนาคตขึ้นอยู่กับสถานการณ์อาจยกระดับเป็น รพ. สนาม โดยการให้บริการของศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะ จะเน้นการดูแลผู้ป่วยเคสสีเขียวที่พบเชื้อแล้ว ต้องไม่มีข้อห้ามในการ เข้าศูนย์ต่าง ๆ การติดต่อรับผู้ป่วยจะรับเคสที่มาจากสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่และสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ผู้ป่วยจะเข้า มาที่ศูนย์พักคอยโดยตรงไม่ได้ จะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อ ผ่านการดูแลเบื้องต้นต่าง ๆ ก่อน ในการนี้ ทาง รพ. จะ เน้นหนักเรื่องการประเมินผู้ป่วยว่าสามารถที่จะเข้าศูนย์ได้ จึงจะคัดกรองส่งมายังศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะ
ในปัจจุบันมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสิ่งต่าง ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่ยังต้องการอยู่ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สอยในตัวศูนย์ อาทิ พัด ลมคนไข้ ผ้าปูที่นอน หมอน มุ้ง อาหาร และอุปกรณ์ที่ใช้ดูแลผู้ป่วย อาทิ ถุงขยะสีแดงจำนวนมาก อุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ ชุดป้องกัน PPE หน้ากาก N95 ถุงมือ ซึ่งสามารถบริจาคได้ที่ศูนย์พักคอยเขตราษฎร์บูรณะ โรงพยาบาลประชาพัฒน์ สำนักงาน เขตราษฎร์บูรณะ และช่องทางที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม อยากให้ภาครัฐผ่อนเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งการตรวจหาเชื้อจะมีปัญหาเวลารับผู้ป่วยเข้าศูนย์ อยากรับผู้ป่วยที่ มีการยืนยันผลเป็นบวก และการตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) ที่บ้านแล้วมีผลเป็นบวก แต่ยังเข้าสู่ ระบบการรักษาไม่ได้ เพราะต้องไปตรวจยืนยันผล RT-PCR อีกที จะทำให้ระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษายิ่งช้า ออกไปมากกว่าเดิม ซึ่งอาจส่งผลถึงสุขภาพตลอดจนชีวิตของผู้ป่วยได้